เอื้องหูเสือปากหยัก / -

ประวัติการค้นพบ: มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกโดย Gunnar Seidenfaden (1908-2001) นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ต่อมา Dariusz Lucjan Szlachetko นักพฤกษศาสตร์ชาวโปแลนด์ มาเปลี่ยนชื่อเป็น Crepidium octodentatum ตีพิมพ์ในวารสาร Fragmenta Floristica et Geobotanica ในปี 1995 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำต้นเล็กและถูกหุ้มด้วยกาบ ใบรูปรีกว้าง ขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว เซนติเมตร ปลายใบแหลม ช่อดอกสั้นตั้งตรง ดอกขนาด 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปแถบ ปลายมน ทั้งห้ากลีบสีเขียวซีดอมเหลือง กลีบปากอยู่ทางด้านบน รูปทรงเกือบกลม ปลายกลีบปากหยักเป็นฟัน กลีบปากสีม่วงซีดและมีลายสีเขียวอมเหลืองทั่วทั้งกลีบ เส้าเกสรสั้นและเล็กมาก นิเวศวิทยา: กล้วยไม้ดินขนาดเล็ก พบในป่าดิบแล้ง ตามที่ร่มแสงแดดรำไร ดินร่วนปนทรายที่มีเศษซากพืชทับถมเป็นจำนวนมาก ดอกออกเดือนเมษายน ช่องออกดอกไม่ทิ้งใบ การกระจายพันธุ์: ไทย กัมพูชา เวียดนาม ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: สลิล สิทธิสัจธรรม. 2522. หนังสือกล้วยไม้ป่าเมืองไทย. กรุงเทพฯ : บ้านเเละสวน. 174


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Crepidium octodentatum (Seidenf.) Szlach.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง